วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ตอนที่ 4 การรีทัชรูปภาพ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 
ตอนที่ 4 เรื่อง การรีทัชรูปภาพ 1

http://www.youtube.com/watch?v=poKmA6gNgZ4#t=795

ให้นักเรียนดูวีดิโอตามลิ้งดังกล่าว แล้วสรุปความรู้ที่ได้จากวีดิโอ ลงสมุด 

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้เครื่องมือพื้นฐาน ตอนที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ตอนที่ 3 การปรับสี  ของภาพนิ่ง 

การปรับสีของภาพนิ่ง เป็นอีกความสามารถหนึ่งของ โปรแกรม Photoshop นั่นคือความสามารถในการ แก้ไข ปรับแต่งภาพ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น ภาพนั้นมีสีที่ไม่สด ก็สามารถทำให้สดสวยขึ้นมาได้ ภาพเป็นภาพขาวดำ เราก็สามารถทำให้ภาพนั้นมีสีสันได้ หรือแม้กระทั่งภาพที่มีสีสันที่สวยอยู่แล้ว แต่เราต้องการเปลี่ยนสีเป็นสีอื่น ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย

สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีประการแรกคือ ภาพนิ่ง ที่เราต้องการแก้ไข หรือต้องการจะนำมาใช้งาน ยกตัวอย่างภาพตามด้านล่างนี้




เครื่องมือที่ใช้ในการปรับแต่งสีของรูปภาพ
เครื่องมือที่ใช้หลัก ก็คือ Brush tool นั้นเอง
วิธีการทำภาพให้เป็นสีที่เราต้องการ
1. เลือกาภพที่ต้องการทำแล้วเปิดใน Photoshop โดยการไปที่ file>open
2. ในภาพนี้เป็นดอกกุหลาบ ขาวดำ ต้องการเปลี่ยนดอกกุหลาบให้มีสีแดง โดยเลือก ที่ Brush tool แล้วไปคลิกที่ Edit in Quick mask mode
ในกล่องเครื่องมือ ด้านล่างสุด 
3. เมื่อคลิกแล้ว ให้ทำการระบายลงในพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนสี นั่นคือ ตรงดอกกุหลาบนั่นเอง ระบายให้เนียนที่สุดเท่าที่จะทำได้
เมื่อระบายเสร็จแล้ว จะมีลักษณะคล้านมีแจลสีแดงเคลือบอยู่ 
4. ระบายเสร็จแล้ว ก็ให้กลับไปกดที่Edit in Quick mask mode ตัวเดิม 

5. เมื่อคลิกแล้วก็จะเกิด selection ขึ้น แล้วให้ไปที่ menu bar เลือก select > inverse เพื่อทำการเลือกพื้นที่ดอกกุหลาบ
6. เสร็จแล้วไปที่ menu bar เลือก layer> new fill layer > solid color จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาดังรูป

7. ในช่อง Mode เลือกเปลี่ยนเป็น Soft light แล้วกด OK จะปรากฎ หน้าต่างแถบสีขึ้นมา  ให้เลือกสีแสงสดมุมขวาบนสุดดอกกุหลาบของเราก็จะกลายเป็นสีแแดง ดังรูป
8. เมื่อเลือกแล้ว กด ok  จะได้ดอกกุหลาบสีแดง แต่ยังแดงไม่มาก เราต้องการแดงสดๆกว่านี้ ให้ไปที่ หน้าต่าง Panel Layer
9. ดูแถบล่างสุด ที่เป็นวงกลมสีขาวดำ คลิก แล้วเลือก  Vibrance จะปรากำหน้าต่างดังภาพ
10. ให้ดึงแถบ Saturation ไปทางขวาจะเห็นได้ว่า สแดงมีความสดขึ้น  เป็นอันเรียบร้อย
จะได้ภาพกุหลาบแดง จากภาพขาวดำ
-------------------------------------------------------------------------------------------------
อีกวิธีหนึ่งในการเปลี่ยนสีภาพอย่างรวดเร็วคือ การใช้คำสั่ง Hue/saturation
1. ทำการเลือกรูปภาพที่ต้องการ แล้วทำการวาด Selection รอบส่วนที่ต้องการจะเปลี่ยนสี
2. ไปที่ menu bar เลือก image >adjustment > Hue/saturatuion
3. ลองเลือนดูก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสี อย่างง่ายดาย นั่นเอง  เสร็จแล้วก็เอา Selection ออก โดยกด Ctrl + D 
--------------------------------------------------------------------------------------------

ภาระงาน 
1. ให้นักเรียน เปลี่ยนสีภาพ ดอกกุหลาบ ให้เป็นสีต่างๆ ที่นักเรียนต้องการ ตามวิะีการที่ได้ศึกษาจาก Blog   คนละ 1 ดอก แล้วบันทึกงานชื่อ ดอกกุหลาบ_เลขที่

2. ให้นักเรียนทำการเปลี่ยนสีภาพดวงตา ให้เป็นสีอื่น แล้วบันทึกชื่อ สีตา_เลขที่
3. ให้นักเรียนหาภาพดารา แล้ว นำมาเปลี่ยนสีผม (หรือจะใช้รูปตัวเองก็ได้) แล้วบันทึกงานเป็นชื่อ เปลี่ยนสีผม_เลขที่

***ส่งท้าบคาบเรียน***





วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้เครื่องมือพื้นฐาน ตอนที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 
ตอนที่ 2 การสร้างหัวแปรง(Brush)ด้วยรูปภาพ


การทำ Brush ไว้ใช้งานใน Photoshp CS6 นั้นสามารถทำได้ง่ายมาก แต่หลักสำคัญของการทำ Brush ไว้ใช้เองนั้น คือการเลือกรูปภาพ จำเป็นต้องใช้รูปภาพหรือข้อความที่มีความชัดเจน ไม่มีพื้นหลัง หรือ Background จะต้องเป็นภาพที่มีแต่ ภาพหลัก จึงจะทำให้ Brush ที่ทำออกมานั้น มีความชัดเจนและ สวยงาม

1. การเลือกรูปมาทำ Brush  ตัวอย่าง

















จะเห็นได้ว่ารุปภาพดังกล่าวไม่มีภาพพื้นหลัง สามารถนำมาทำ Brush ได้สวยงามและชัดเจน

----------------------------------------------------------------------------------------------

2. ขั้นตอนการทำ Brush

กำหนดขนาดพื้นที่การทำงานเป็น 1000*1000 pixel 
resolution 100 pixel/centimate
พื้นหลัง Transperent

2.1 เปิดโปรแกรม Photoshop CS6 ขึ้นมา แล้วทำการ Open รูปภาพที่ต้องการทำ Brush เข้ามาในพื้นที่การทำงาน
2.2 หากเป็นภาพที่มีพื้นหลังขาวติดมาด้วย ให้ทำการตัดพื้นหลังออก ด้วยเครื่องมือ Magic ward tool
ดังที่ได้สอนไปแล้วเมื่อหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ตอนที่ 1 เมื่อลบแล้วจะได้พื้นหลังโปร่งแสง (Transparent) ตามรูปภาพที่ 2.1 นั่นเอง

2.3 เมื่อทำการลบพื้นหลังให้เป็นพื้นหลัง โปร่งแสง  (Transparent) เรียบร้อยแล้ว ให้เลือกที่เครื่องมือ Brush 
2.4 เมื่อเลือกที่เครื่องมือ Brush แล้ว  ให้ทำการ Reset ฺฺBrush โดยการ ไปที่ Tool control bar ของ เครื่องมือ Brush ดังภาพ  คลิกที่รูปฟันเฟือง จะปรากฎแถบตัวเลือกตังภาพ เลือกที่ Reset Brush กด ok 
2.5 เมื่อทำการ Reset Brush เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นการสร้าง Brush โดยไปที่ Edit แล้วเลือก Define Brush Preset ดังภาพ
2.6 จะปรากฎหน้าต่าง Preset Brust ขึ้นมาดังภาพ ทำการตั้งชื่อ Brush ของเราตามชอบ แล้วกด OK

2.7 เมื่อกด Ok แล้ว ให้เราไปเปิดดู Collection Brush ที่ Tool control bar ของเครื่องมือ Brush  
2.8 หัวแปรง หรือBrush ที่เราสร้างจะอยู่อันสุดท้าย ตามภาพ เราสามารถนำมาให้ได้เลย ตามอัธยาศัย สามารถทำ Credit คล้ายๆ กับตราปั้มส่วนตัว  
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาระงาน
ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ออนไลน์จาก blog : teacherjaray.blogspot.com
เรื่อง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ตอนที่ 2 การทำ Brush

ให้นักเรียนฝึกทำตามขั้นตอนจนสำเร็จและชำนาญ และให้นักเรียนทำ Brush คนละ 5 ชิ้น ส่งท้ายคาบ 
วิธีการส่งให้ สร้างพื้นที่การทำงานขนาด A4 พื้นหลังขาวปกติ แล้วให้นักเรียน ปั้ม Brush ที่สร้างขึ้นทั้ง 5 Brush ลงใน A4 ที่สร้างขึ้น แล้ว
Save งานชื่อว่า หัวแปรง_เลขที่

โดยทำการ Save งานไว้ที่ Local disk D: 
สร้างFloder ที่ชื่อว่า "ครูจเร"  แล้วเซฟงานไว้ในนั้น