วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หน่วยการเรียนรู้ ที่2 ตอนที่ 4 เรื่อง การรีทัชภาพ(ภาคปฏิบัติ)

หน่วยการเรียนรู้ ที่2 
ตอนที่ 4 เรื่อง การรีทัชภาพ(ภาคปฏิบัติ)

จากที่นักเรียนได้รับชมวีดิทัศน์สาธิตการรีทัชภาพไปแล้ว พร้อมทั้งยังได้ทำการสรุปเนื้อหาสาระของการรีทัชภาพลงสมุด ต่อมา เราจะได้ทำการรีทัชภาพกันแล้ว คุณพร้อมหรือยัง?

เครื่องมือที่ใช้ในการรีทัชภาพ ในบทเรียนนี้ที่จะแนะนำให้ใช้ได้แก่
1. clone stamp tool
Clone Stamp tool
คุณสมบัติ คือ เปรียบเสมือนตราปั้ม  
วิธีใช้ คือ  1. กด Alt ที่คีบอร์ดค้างไว้ แล้วคลิกในพื้นที่ที่เราอยากจะให้ภาพที่รีทัชมีพื้นผิวแบบเดียวกัน
                 2. เมื่อกดแล้วจะสังเกตว่า เมาส์ของเราจะมีพื้นที่นั้นติดมาด้วย แล้วนำไปปั้มในส่วนที่ต้องการปกปิด เพื่อทำการรีทัชภาพ
****หมายเหตุ ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเพื่อความสวยงามและความเรียบเนียนของภาพที่รีทัช


2. healing brush tool
healing brush tool
คุณสมบัติ ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ Clone Stamp tool
วิธีใช้ คือ  1. กด Alt ที่คีบอร์ดค้างไว้ แล้วคลิกในพื้นที่ที่เราอยากจะให้ภาพที่รีทัชมีพื้นผิวแบบเดียวกัน
                 2. เมื่อกดแล้วจะสังเกตว่า เมาส์ของเราจะมีพื้นที่นั้นติดมาด้วย แล้วนำไปปั้มในส่วนที่ต้องการปกปิด เพื่อทำการรีทัชภาพ
****หมายเหตุ ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเพื่อความสวยงามและความเรียบเนียนของภาพที่รีทัช


3. spot healing brush tool
spot healing brush tool
คุณสมบัติ ใช้ในการรีทัชรอยจุด เช่น รอยสิว หรือตัวอักษร เป็นกลุ่มๆ
วิธีใช้ เมื่อเลือกเครื่องมือแล้ว ก็สามารถปรับขนาดหัวแปรงและคลิก เพื่อรีทัชจุดที่ได้ต้องการได้เลย โดยเครื่องมือจะทำการคำนวณโดยใช้พื้นที่รอบข้างมาปกปิดจุดที่รีทัชเอง
****หมายเหตุ ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเพื่อความสวยงามและความเรียบเนียนของภาพที่รีทัช


4. patch tool
 patch tool
คุณสมบัติ ใช้ในการรีทัชกลุ่มภาพเล็ก ๆ 
วิธีใช้  1. การใช้งานจะต่างจากสามเครื่องมือข้างต้น เนื่องจากต้องวาดส่วนที่ต้องการรีทัช เอง แล้วจะปรากฏ selecttion
          2. เมื่อปรากฏ selection แล้ว ใช้เมาส์ดึงไปหาพื้นที่ที่อยากให้ส่วนที่รีทัชมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึง  
****หมายเหตุ ต้องอาศัยความพยายามและความอดทนเพื่อความสวยงามและความเรียบเนียนของภาพที่รีทัช


นอกจากเครื่องมือที่ใช้ในการรีทัช ลบ หรือซ้อนทับภาพที่ไม่ต้องการแล้ว ยังมีคำสั่งที่ีใช้ในการรีทัชภาพอีกด้วย  แต่เป็นคำสั่งที่ใช้ในการดึงภาพ หรือบิดภาพ ให้มีรูปทรงตามที่เราต้องการนั่นคือคำสั่ง Liquify

1. การใช้งานคำสั่ง liquify โดยไปที่ menu bar เลือกที่ filter> เลือก liquify จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ

2. ทางด้านซ้ายมือจะเป็นแถบเครื่องมือในการจัดการรูปภาพ
3. ทางด้านขวามือเป็น ตัวเลือกปรับค่าหัวแปรง ขนาดของหัวแปรง เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องมือ

---------------------------------------------------------------------------------------------
รูปภาพที่นำมารีทัช


รูปที่ 1

รูปที่ 2

รูปที่ 3

-------------------------------------------------------------------------
ภาระงาน
1. ให้นักเรียนรีทัชจุดจากภาพที่ 1 ออกให้หมด โดยให้เหลือแต่ลายแถบสีรุ้ง บันทึกชื่อ รีทัช1_เลขที่

2. ให้นักเรียนเลือกรีทัชภาพนกแก้วรูปที่ 2หรือ3ก็ได้ โดย
2.1 ถ้าเลือกรูปที่ 2  เอานกแก้วออกไป ให้เหลือแต่background และที่นกแก้วเกาะ บันทึกชื่อ รีทัช2_เลขที่
2.2 ถ้าเลือกรูปที่3 ให้เอานกแก้วออกทั้งหมด โดยเหลือแต่กิ่งไม้กับพื้นหลัง บันทึกชื่อ รีทัช 2_ เลขที่







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น